วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2556

การประกวดการเล่านิทาน

ตัวอย่างเด็กเก่งจากกรุงเทพ.......จ้า


การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้นิทานอีสป



  บทที่  1
บทนำ


ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
           
ในยุคปัจจุบัน เป็นยุคสังคมข้อมูลข่าวสาร  เทคโนโลยี ซึ่งมีความเคลื่อนไหว และการ
เปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ และวัฒนธรรมอย่างรวดเร็ว การใช้ภาษาต่างประเทศจึงเป็นเครื่องมือสำคัญยิ่งในการติดต่อสื่อสาร การหาข้อมูลความรู้ ถ่ายทอดวิทยาการต่าง ๆ รวมทั้งการเจรจาต่อรองด้านการค้า และการประกอบอาชีพ การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ จึงช่วยสร้างสัมพันธภาพอันดีระหว่างชนชาติไทยและชนชาติอื่น เพราะทำให้มีความเข้าใจวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของแต่ละเชื้อชาติ สามารถปฏิบัติต่อกันได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและสามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมไปสู่สังคมโลก (กรมวิชาการ, 2545: 1)
                  จากความสำคัญของภาษาต่างประเทศ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2551 ได้กำหนดให้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  เป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้พื้นฐานหนึ่งใน 8  กลุ่ม ที่เสริมสร้างพื้นฐานความเป็นมนุษย์ และสร้างศักยภาพในการคิดและการทำงานอย่างสร้างสรรค์โครงสร้างของหลักสูตรภาษาต่างประเทศ กำหนดตามระดับความสามารถทางภาษาและพัฒนาการของผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยจัดแบ่งเป็น 4 ระดับ คือ ระดับเตรียมความพร้อม (Preparatory Level) ในช่วงชั้น
ที่ 1 (ป.1- 3)  ระดับต้น (Beginner Level) ในช่วงชั้นที่ 2 (ป.46) ระดับกำลังพัฒนา(Development Level) ในช่วงชั้นที่ 3 ( ม.1-3)  และระดับก้าวหน้า (Expanding Level) ช่วงชั้นที่ 4 (ม.46) (กระทรวงศึกษาธิการ, 2548: 2)
                การเรียนภาษาต่างประเทศแตกต่างจากสาระการเรียนสาระการเรียนรู้อื่น  เนื่องจากผู้เรียนไม่ได้เรียนภาษาเพื่อความรู้เกี่ยวกับภาษาเท่านั้น  แต่เรียนภาษาเพื่อให้สามารถให้ภาษาเป็นเครื่องมือในการติดต่อกับผู้อื่นได้ตามความต้องการในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในชีวิตประจำวัน และการอาชีพ  การที่ผู้เรียนจะใช้ภาษาได้ถูกต้องคล่องแคล่วและเหมาะสมนั้นขึ้นอยู่กับทักษะการใช้ภาษา  ดังนั้นการเรียนภาษาที่ดี  ผู้เรียนจะต้องมีโอกาสฝึกฝนทักษะการใช้ภาษาให้มากที่สุดทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
การจัดกระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับธรรมชาติ  และลักษณะเฉพาะของการเรียนภาษาจึงควรประกอบด้วยกิจกรรมที่หลากหลาย  ทั้งกิจกรรมการฝึกทักษะทางภาษา  และกิจกรรมการฝึกผู้เรียนให้เรียนรู้วิธีการเรียนภาษาด้วยตนเองควบคู่ไปด้วยซึ่งจะนำไปสู่การเป็นผู้เรียนที่พึ่งตนเองได้
(Learner - independence)และสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต (Lifelong learning)ทั้งด้านภาษาต่างประเทศและใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าประการหนึ่งของการปฏิรูปการเรียนรู้
                การจัดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศ  ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความคาดหวังว่า  เมื่อผู้เรียนภาษาต่างประเทศอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษาผู้เรียนจะมีเจตคติที่ดีต่อภาษาต่างประเทศ  สามารถใช้ภาษาต่างประเทศสื่อสารในสถานการณ์ต่าง ๆ แสวงหาความรู้  ประกอบอาชีพ  และศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น  รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวและวัฒนธรรมอันหลากหลายของประชาคมโลก  และสามารถถ่ายทอดความคิดและวัฒนธรรมไทยไปยังสังคมโลกได้อย่างสร้างสรรค์ (ชมรมกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2544 : 2)
                ในยุคโลกาภิวัฒน์ซึ่งเป็นยุคข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยี  ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลในการสื่อสารระหว่างมวลมนุษย์  การที่คนในชาติมีความรู้  ความสามารถในภาษาที่เป็นภาษาสากลย่อมส่งผลต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างยิ่ง (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2541 : 6)
                กระทรวงศึกษาธิการได้ตระหนักถึงปัญหา  การพัฒนาความสามารถทางภาษาอังกฤษของคนไทย  และมีความพยายามที่จะปรับปรุงให้มีการสอนภาษาอังกฤษตลอดแนวจากระดับประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา  เพื่อที่จะพัฒนาให้ผู้เรียน  มีสมรรถนะทางภาษาอังกฤษ  ในระดับที่สามารถติดต่อสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้  สามารถที่จะมีความรู้  ความเข้าใจสานสนเทศต่าง ๆที่มีอยู่ได้อย่างดี  กล่าวคือรู้พอที่จะเลือกสารสนเทศต่าง ๆ มาก่อให้เกิดประโยชน์แก่การพัฒนาความรู้  ความคิดของคนในโลกได้  อันนำไปสู่การพัฒนาประเทศ ดังนั้นการที่จะให้บรรลุเป้าหมายจะเป็นไปได้ยากหากยังใช้หลักสูตรภาษาอังกฤษเดิม ซึ่งการเรียนการสอนภาษาอังกฤษมิได้เป็นวิชาพื้นฐานในระดับประถมศึกษา  ผู้ที่เริ่มเข้าเรียนในระดับประถมศึกษา ความแตกต่างในการจัดหลักสูตรเดิม ทำให้เกดความแตกต่างในการจัดการเรียนการสอนและมาตรฐานของนักเรียน  ตลอดจนโอกาสของการที่จะพัฒนาสมรรถภาพทางภาษาอังกฤษในการออกไปประกอบอาชีพ  และในการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น (สุดาพร  ลักษณิยนาวิน. 2540 : 1-11)

               
                ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นภาษาสากลที่มีผู้นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ทั้งยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นซึ่งกันและกัน  ตลอดจนเป็นเครื่องมือในการเสาะแสวงหาความรู้ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ สำหรับประเทศที่เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ หรือในสภาพแวดล้อมที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาพูดนั้น  ทักษะที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง คือ การอ่าน ซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องมือเพิ่มเติมในการติดต่อสื่อสาร การแสวงหาความรู้  และการประกอบอาชีพ
(สุมิตรา อังวัฒนกุล. 2539 : 57) เพราะนอกจากการอ่านจะพัฒนาบุคคล และสังคมให้บุคคลมีความคิดสร้างสรรค์ช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ และก่อให้เกิดความเพลิดเพลินในยางว่างแล้ว ในด้านการใช้ประโยชน์ ทักษะการอ่านจะเป็นทักษะที่ผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศมีโอกาสได้ใช้มากหลังจากจบการศึกษาไปแล้ว ส่วนทักษะอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพูด การฟัง การเขียนนั้นจะมีโอกาสได้ใช้น้อยมาก และอาจลืมไปได้ในที่สุด (Allen &Valette. 1979 : 281-289)
                การอ่านเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตในปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษ ซึ่งถือว่าเป็นภาษาต่างประเทศที่เป็นเครื่องมือในการสื่อสารที่ก่อให้เกิดแนวทางการเรียนรู้องค์ความรู้ใหม่การเมือง การค้าและเศรษฐกิจ ซึ่งภาษาอังกฤษได้ปรากฏในสื่อต่าง ๆ ของชีวิตประจำวันของคนไทยไม่ว่าจะเป็นหนังสือพิมพ์ ป้ายชื่อถนน ป้ายโฆษณา แบบฟอร์มราชการ สลากยา การ์ตูน เป็นต้น ยุคข่าวสารข้อมูล
คนที่สามารถอ่านภาษาอังกฤษได้ดีกว่าย่อมสืบค้นและพัฒนาทุกด้านได้มากกว่านั้นหมายความว่า การศึกษาหาความรู้ เพื่อประกอบอาชีพในอนาคตย่อมมีแนวโน้มที่ดีกว่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเริ่มต้นพัฒนาทักษะ การอ่านภาษาอังกฤษตั้งแต่เยาว์ จึงถือได้ว่าวิชาภาษาอังกฤษเป็นวิชาที่ต้องพัฒนาทักษะการอ่านควบคู่ไปกับการดำเนินชีวิต จึงจะทำให้การเรียนรู้ และการดำเนินชีวิตประสบผลสำเร็จสูงสุด
                ทักษะการอ่านนั้น เป็นทักษะที่ต้องใช้กันมากในชีวิตประจำวัน นักเรียนมักอ่านแล้วไม่เข้าใจ และจับใจความเรื่องที่อ่านไม่ได้เกิดความเบื่อหน่าย และไม่รักการอ่าน ทำให้ความสามารถในการอ่านของนักเรียนต่ำ จึงเป็นหน้าที่ของครูผู้สอน และผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการศึกษาที่จะต้องช่วยกันแก้ปัญหาดังกล่าวปัญหาการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยเป็นสิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายควรให้ความสนใจแก้ไขอย่างจริงจังโดยเฉพาะครูผู้สอนจำเป็นต้องเร่งขวนขวายศึกษาเทคนิคต่าง ๆ เพื่อนำมาพัฒนาการสอนอ่านให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ้งเป็นแนวทางหนึ่งที่ผู้วิจัยเห็นสมควรนำมาใช้ในการสอนเพื่อพัฒนาความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษให้ได้ผลดีขึ้น คือการนำนิทานมาใช้เป็นสื่อในการสอนภาษาอังกฤษโดยจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่สนุกสนานเร้าความสนใจ เป็นกิจกรรมที่นักเรียนชื่นชอบ  มีความสนุกสนานและเร้าความสนใจแก่นักเรียนอย่างหนึ่ง(สุมณฑา ตันเจริญ. 2533 : 1-3)
                โรงเรียนบ้านนาทับไฮ  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย  เขต  2   เป็นโรงเรียนประถมขนาดเล็ก มีนักเรียนทั้งหมดจำนวน 105  คน  เปิดสอนในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1
จนถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ประจำปีการศึกษา 2553มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 60 และในปีการศึกษา 2554มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 60 ซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์เมื่อเกณฑ์ของโรงเรียน โดยเฉพาะผลการประเมินการอ่านภาษาอังกฤษมีคะแนนต่ำกว่าเฉลี่ยร้อยละ 45 (งานวิชาการโรงเรียน,2554)
                จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  4 โรงเรียนบ้านนาทับไฮ อยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดโดยเฉพาะ
ทักษะการอ่าซึ่งเป็นทักษะสำคัญและเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทักษะอื่น ๆ ดังนั้นผู้วิจัยเห็นว่า หากไม่แก้ไขปัญหานี้ อาจส่งผลให้ผู้เรียนไม่พัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ ซึงเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษต่ำนั้น อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนไม่น่าสนใจเท่าที่ควร หรืออาจใช้วิธีการสอนไม่หลากหลาย ทำให้ไม่เร้าความสนใจของผู้เรียน และจากประสบการณ์ของผู้สอนภาษาอังกฤษ พบว่าผู้เรียนมีพื้นฐานทางภาษาอังกฤษแตกต่างกัน หรือมีความสามารถในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแตกต่างกัน จึงส่งผลให้การจัดกิจกรรมการสอนอ่านไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรและทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านต่ำ
                จากสภาพปัญหาดังกล่าว ทำให้ผู้วิจัยสนใจจะพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้นิทาน ซึ่งการนำนิทานมาใช้ในการจัดกิจกรรมการสอนนั้นจะช่วยเร้าความสนใจของผู้เรียนและเกิดการพัฒนาทักษะการอ่านของนักเรียนดีขึ้นนั้น การทำวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยต้องการทราบว่าการใช้นิทานในการจัดกิจกรรมการสอนนั้นสามารถพัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนได้หรือไม่

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

                การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ตั้งวัตถุประสงค์ของการวิจัยไว้ดังนี้
                1.  เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ที่เรียนโดยใช้นิทานก่อนเรียนและหลังเรียน
                2.  เพื่อศึกษาเจตคติของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  4  ที่มีต่อการสอนการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้นิทาน
สมมติฐานของการวิจัย
               
                นักเรียนที่ได้รับการสอนภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้นิทานมีความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

ขอบเขตของการวิจัย

                การทำวิจัยครั้งนี้ มีขอบเขตของการวิจัย ดังนี้ 
                1. ประชากร
                    ประชากร  คือ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาเปงจานนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย  เขต  2  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2556
จำนวน  250  คน
                2.  ตัวแปรที่ศึกษา
                     2.1  ตัวแปรต้น  ได้แก่  การสอนภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้นิทานอีสป
                     2.2  ตัวแปรตาม  ได้แก่
                            2.2.1  ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ
                            2.2.2  เจตคติต่อการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้นิทานอีสป
                3.   เนื้อหาที่ใช้ในการทดลอง
                     ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้คัดเลือกเนื้อหา บทอ่านที่ใช้ในการศึกษาเป็นเนื้อหาที่น่าสนใจ และเหมาะสมกับระดับความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของผู้เรียนซึ่งผู้วิจัยที่ได้คัดเลือกเนื้อหามากจากหนังสือหลายเล่มหนังสือนิทานอีสป นำมาจัดทำเป็นแผนการเรียนรู้  ที่สอดคล้องกับการสอนอ่านเพื่อความเข้าใจ โดยใช้นิทาน และสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช  2551  กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)  จำนวน  12  เรื่อง มีจำนวน  12  แผน
แผนละ  2  ชั่วโมง รวมทั้งหมด  24  ชั่วโมง
4.  ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง
                     การวิจัยครั้งนี้ใช้เวลาในการทดลองทั้งสิ้น  24  ชั่วโมง  สัปดาห์ละ  2  ชั่วโมง
รวม  12  สัปดาห์ ในภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2556

นิยามศัพท์เฉพาะ
               
ในการวิจัยครั้งนี้  ผู้วิจัยได้นิยามศัพท์เฉพาะไว้  ดังนี้
1.  การสอนโดยใช้นิทานอีสป คือ การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยนำบทนิทานอีสปเป็นกิจกรรมหลักในบทเรียน
2.  ความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ  หมายถึง  ความสามารถของนักเรียนในการแปลความ ตีความ วิเคราะห์ความและสรุปความจากเรื่องที่อ่านซึ่งประเมินค่าจากคะแนนที่ได้  จากแบบาดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน
ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
                3.  เจตคติต่อการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้นิทาน  หมายถึง  ความรู้สึกชอบ
หรือไม่ชอบ  พอใจหรือไม่พอใจ  ความรู้สึกด้านบวก  ด้านลบหรือเป็นกลางของนักเรียน ที่มีต่อการสอนภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้นิทาน ซึ่งวัดจากแบบวัดเจตคติ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

ประโยชน์ที่จะได้รับ

                1.  ได้พัฒนาความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่  4  โรงเรียนบ้านนาทับไฮ  ที่ได้รับการสอนโดยใช้นิทานอีสป
                2.  ทำให้ทราบเจตคติของนักเรียนต่อการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจหลังจากได้รับการสอนโดยใช้นิทานอีสป
                3.  ได้แผนการจัดการเรียนเรียนรู้การสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้นิทานอีสป
                4.  เป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอนที่สนใจในการพัฒนาการสอนอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้นิทานอีสป

วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

การพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้นิทานอีสป

นิทานเรื่อง ห่านกับนกกระสา (The Goose and The Stork)
There were a goose and a stork living at a big pond. They were close friends and always looked for food together.
ที่ริมหนองน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง เป็นที่อาศัยของห่านและนกกระสาทั้งคู่เป็นเพื่อนสนิทกัน และมักออกหากินด้วยกันเสมอ
One day while the two birds were walking along the pond, there was a heron flying passed them. "Friends, there is another pond over there. It is full of shrimps, shells, crabs and fish," said the heron.
วันหนึ่งในขณะที่ทั้งสองกำลังเดินเลียบหนองน้ำอยู่ มีนกกระยางตัวหนึ่งบินผ่านมา "นี่แน่ะเพื่อน ตรงโน้นมีหนองน้ำอีกแห่งหนึ่งที่นั่นมีกุ้ง หอย ปู ปลา เยอะแยะเชียว" นกกระยางบอก
So, the goose and the stork flew to the pond which the heron had told them about. At the pond, there was really a lot of food.
นกกระสาและห่านจึงพากันบินไปยังหนองน้ำตามคำบอกเล่าของนกกระยาง ที่หนองน้ำแห่งนั้นมีอาหารอุดมสมบูรณ์จริงตามที่นกกระยางพูด
The goose ate a lot of food while the stork ate just enough to fill himself. "We rarely find a place which is full of food like this. Why do you eat so little?" the goose asked his friend. Oh, I'm full. If I eat too much, I'm afraid that I cannot fly back," answered the stork.
ห่านนั้นกินอาหารมากจนพุงกางในขณะที่นกกระสากินพออิ่ม "นานๆ ถึงจะพบแหล่งอาหารอุดมสมบูรณ์อย่างนี้ ทำไมท่านถึงกินเพียงนิดเดียวล่ะ" ห่านถาม "ข้าอิ่มแล้ว ถ้ากินมากเกินไป ข้ากลัวว่าจะบินกลับไม่ไหว" นกกระสาตอบ
"But I can eat a lot more," the goose said and went on eating. At the moment, there was a hunter who came by and saw the two birds. The hunter immediately aimed his arrow at the goose and the stork. By chance, the stork saw the hunter. It cried out to warn the goose before it flew away. The goose who had eaten too much could not fly. It was finally shot by the hunter.
“แต่ข้ายังกินได้อีกเยอะ” ห่านพูดแล้วก็ก้มหน้าก้มตากินต่อไป ขณะนั้นมีนายพรานคนหนึ่งเดินผ่านมาเห็นนกทั้งสองเข้า นายพรานจึงยกธนูขึ้นเล็งไปที่นกสองตัวนั้นทันที นกกระสาบังเอิญเหลือบมาเห็นนายพรานเข้าพอดี จึงร้องเตือนห่านก่อนที่ตัวเองจะรีบบินหนีไป ห่านซึ่งกินอาหารมากเกินไปจนบินหนีไม่ไหวมันจึงถูกนายพรานยิงตายในที่สุด
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“Greediness may lead to dangers”
“ความโลภ ความไม่รู้จักพอ อาจนำภัยมาสู่ตนได้”

ประวัติความเป็นมาของอีสป ผู้เป็นต้นกำเนิดของนิทานอีสป

อีสป เป็นชื่อของชายคนนึงที่เกิดในเมืองฟรีเยียในดินแดนที่ปัจจุบันเรียกว่าเอ เซียไมเนอร์ในยุคเมื่อราวปี 620-560 ก่อน คริสตศักราชหรือก่อนสมัยพุทธกาลเล็กน้อย ซึ่งเป็นดินแดนที่ทวีปเอเชีย และยุโรป มาชนกัน และเป็นดินแดนที่เจริญรุ่งเรืองมากในสมัยของอีสป เนื่องจากเป็นแหล่งรวมของบรรดาพ่อค้าวาณิช พวกทูตและ นักท่องเที่ยวรวมทั้งเป็นดินแดนที่มีการค้าทาสกันอย่างมากมายในสมัยนั้น และอีสปก็คือทาสคนหนึ่งของที่นั่น ซึ่งมีสมญาว่า Ethiop(เอธิออป) ซึ่งมีความหมายว่าตัวดำ แต่ชาวยุโรปเรียกเสียงเพี้ยนไปเป็น Aesop (อีสป) (ชื่อเอธิออปเชื่อว่ามาจากชื่อประเทศเอธิโอเปีย ต่อมาเปลี่ยนเป็น อะบิสซีเนีย) แต่บางตำนานบอกว่าอีสปอาจจะมาจากเมืองเทรซ ไพรเกียเอธิโอเปีย ซามอส เอเธนส์ หรือเมืองซาร์ดิส ซึ่งไม่มีใครรู้แน่นอน 

                ซึ่งเดิมทีนั้นอีสปเป็นทาสอยู่ที่เมืองซามอส (Samos) ประเทศกรีซ อิดมอนหรือเอียดม็อน คือเจ้านายของอีสป ได้ี่ให้อีสปเป็นครูสอนหนังสือลูกๆของเขา บ้านของอิดมอนเป็นที่พบปะสังสรรค์กันในหมู่บุคคลสำคัญของกรีก อีสปจึงมีโอกาสได้พบเห็นและรู้จักกับบุคคลเหล่านั้น ซึ่งอีสปมีความสามารถพิเศษ สังเกตรู้ได้ด้วยวิจารณาญของเขาว่า ใครเป็นคนอย่างไร และอิมมอนได้รู้ในความพิเศษของเขามักจะนำอีสปไปด้วยเสมอเมื่อไปพบกับคนใหญ่ คนโตของกรีก และอีสปได้เล่านิทานให้พวกเขาเหล่านั้นฟัง ซึ่งทำให้เป็นที่ชื่นชอบของทุกคน ที่ได้ฟังเรื่องเล่าของอีสป 


                 ซึ่ง ในประวัติเล่าว่า อีสปนั้นมีรูปร่างที่อัปลักษณ์ผิดมนุษย์ คือ จมูกบี้ ปากแบะ ลิ้นคับปาก หลังงุ้ม ผิวดำมืด อีสปมักจะพูดเสียงอยู่ในลำคอ ไม่ค่อยมีใครฟังได้ยินว่าเขากล่าวว่าอะไร แต่ภูมิปัญญาของเขานั้นล้ำเลิศนัก โดย แต่ผู้ที่ได้ฟังนิทานจากอีสปมักติดอกติดใจในเนื้อหา ข้อคิด คติเตือนใจ ด้วยเหตุนี้คนสำคัญๆของกรีก มักจะเชิญอีสปเป็นแขกให้ไปเล่านิทานให้ฟังอยู่เสมอๆ
ต่อ มาเมื่อนายของเขาคืออิดมอนได้ให้อิสระภาพแก่อีสป อีสปก็ได้เข้าไปอาศัยอยู่ในวังของกษัตริย์ครีซุส ซึ่งเป็นกษัตริย์ที่ร่ำรวยมหาศาล ทำให้อีสปได้พบกับรัฐบุรุษของเอเธนส์และนักปราชญ์ผู้รอบรู้ต่างๆมากมาย โดยเฉพาะนักปราชญ์ที่ชื่อ โซลอน 


                   บาง ตำนานบอกว่าอีสปเคยเข้าไปอยู่ในสำนักของโซมอล ซึ่งเป็นนักกฎหมายที่มีชื่อเสียงมาก โซลอนเป็นญาติของปีซัสเตรตัส ผู้ปกครองแห่งเอเธนส์ ซึ่งชาวเมืองคิดจะขับไล่ออกจากตำแหน่งเจ้าเมือง เพราะเห็นว่าปิซัสเตรตัสปกครองประชาชนโดยใช้อำนาจกดขี่ข่มเห่งประชาชน ซึ่งอีสปเองได้เล่านิทานเรื่อง “กบเลือกนาย”่ เพื่อให้กับประชาชนชาวเอเธนส์ฟัง ทำให้ชาวเมืองเลื่อมใสการปกครองของปิซัสเตรตัสได้สำเร็จ นอกจากนั้นอีสปยังได้เล่านิทานอุปไมยหลายๆเรื่อง ณ สำนักของโซมอลแห่งนี้ 
นิทาน อีสป นิทานอีสป ของอีสปได้เค้าโครงมากจาก หลายๆที่โดยเป็นเรื่องเล่าเก่าๆของอินเดีย อาระเบีย กรีก เปอร์เซียและดินแดนอื่นๆ โดยอีสปนำมาดัดแปลงเล่าใหม่ นิทานอีสปเป็นนิทานที่เล่าปากเปล่าไม่มีการจัดบันทึกเป็นหลักฐาน แต่ต่อมามีผู้บันทึกเอาไว้ เช่นหลักฐานของแผ่นปาปิรัสอียิปต์โบราณ เป็นต้น 


                    ซึ่ง ผู้ที่บันทึกและรวบรวมไว้ คือ ฟีดรัส ทาสชาวมาซีโดเนียนในยุคจักรพรรดิออกุสตุส จักรวรรดิแรกแห่งโรมัน ได้เป็นผู้หนึ่งที่รวบรวมเรื่องราวของนิทานอีสปเอาไว้เป็นภาษาลาติน บางตำนานบอกว่าชาวกรีกผู้หนึ่งชื่อว่า เดมิตริอุส ได้รวบรวมนิทานอีสปโดยเขียนเป็นหนังสือไว้เมื่อราว 30 ปีก่อนคริสต์ศักราช ต่อมามีผู้เขียนขึ้นใหม่อีกหลายคน จนพระที่ชื่อมาซิมุล พลานูด ได้แปลนิทานอีสปจากภาษาลาตินเป็นภาษาอังกฤษเมื่อ ค.ศ. 1400 ต่อมาชนชาติอื่นได้นำนิทานอีสปมาแปลเป็นของชนชาติตน แต่คงคติคำสอน และข้อคิดอันเป็นหัวใจสำคัญของเรื่องยังคงได้รับการรักษาเอาไว้ได้อย่างดี เยี่ยม









นิทานมาแล้วค้า




Goldilocks and the Three Bears




นิทานมาแล้วจ้า

The Frog Prince





วันเสาร์ที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2556

การพัฒนาทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้นิทานอีสป

 นิทานเรื่อง ห่านกับนกกระสา (The Goose and The Stork)
There were a goose and a stork living at a big pond. They were close friends and always looked for food together.
ที่ริมหนองน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง เป็นที่อาศัยของห่านและนกกระสาทั้งคู่เป็นเพื่อนสนิทกัน และมักออกหากินด้วยกันเสมอ
One day while the two birds were walking along the pond, there was a heron flying passed them. "Friends, there is another pond over there. It is full of shrimps, shells, crabs and fish," said the heron.
วันหนึ่งในขณะที่ทั้งสองกำลังเดินเลียบหนองน้ำอยู่ มีนกกระยางตัวหนึ่งบินผ่านมา "นี่แน่ะเพื่อน ตรงโน้นมีหนองน้ำอีกแห่งหนึ่งที่นั่นมีกุ้ง หอย ปู ปลา เยอะแยะเชียว" นกกระยางบอก
So, the goose and the stork flew to the pond which the heron had told them about. At the pond, there was really a lot of food.
นกกระสาและห่านจึงพากันบินไปยังหนองน้ำตามคำบอกเล่าของนกกระยาง ที่หนองน้ำแห่งนั้นมีอาหารอุดมสมบูรณ์จริงตามที่นกกระยางพูด
The goose ate a lot of food while the stork ate just enough to fill himself. "We rarely find a place which is full of food like this. Why do you eat so little?" the goose asked his friend. Oh, I'm full. If I eat too much, I'm afraid that I cannot fly back," answered the stork.
ห่านนั้นกินอาหารมากจนพุงกางในขณะที่นกกระสากินพออิ่ม "นานๆ ถึงจะพบแหล่งอาหารอุดมสมบูรณ์อย่างนี้ ทำไมท่านถึงกินเพียงนิดเดียวล่ะ" ห่านถาม "ข้าอิ่มแล้ว ถ้ากินมากเกินไป ข้ากลัวว่าจะบินกลับไม่ไหว" นกกระสาตอบ
"But I can eat a lot more," the goose said and went on eating. At the moment, there was a hunter who came by and saw the two birds. The hunter immediately aimed his arrow at the goose and the stork. By chance, the stork saw the hunter. It cried out to warn the goose before it flew away. The goose who had eaten too much could not fly. It was finally shot by the hunter.
“แต่ข้ายังกินได้อีกเยอะ” ห่านพูดแล้วก็ก้มหน้าก้มตากินต่อไป ขณะนั้นมีนายพรานคนหนึ่งเดินผ่านมาเห็นนกทั้งสองเข้า นายพรานจึงยกธนูขึ้นเล็งไปที่นกสองตัวนั้นทันที นกกระสาบังเอิญเหลือบมาเห็นนายพรานเข้าพอดี จึงร้องเตือนห่านก่อนที่ตัวเองจะรีบบินหนีไป ห่านซึ่งกินอาหารมากเกินไปจนบินหนีไม่ไหวมันจึงถูกนายพรานยิงตายในที่สุด

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
“Greediness may lead to dangers”
“ความโลภ ความไม่รู้จักพอ อาจนำภัยมาสู่ตนได้”